คดีแพ่งคืออะไร ?

การบังคับคดีแพ่ง ประเภท และเหตุผลที่ทำไมถึงต้องมี ?

อะไรคือ การบังคับคดีแพ่ง เหตุที่ต้องขอให้มีการบังคับคดี ?

คดีแพ่ง ก็คือ คดีคู่ความฝ่ายหนึ่งฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าเสียหายเป็นตัวเงินหรือให้กระทำ หรือไม่กระทำอย่างใดอย่าง โดยคดีดังกล่าว อาจมาจากการ คดีกู้ยืมเงิน คดีผิดสัญญา คดีเช่าทรัพย์ คดีตั๋วเงิน คดีจำนอง คดีซื้อขาย คดีมรดก เป็นต้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลแล้ว ถ้าผู้แพ้คดีหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง เช่น ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ออกไปจากที่พิพาทในกรณีมีการฟ้องขับไล่ งดเว้นการกระทำตามคำพิพากษาก็ไม่จำเป็นต้องมีการบังคับคดี แต่ถ้าผู้แพ้คดีหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำพากษาหรือคำสั่งศาล ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน จึงต้องมีการบังคับคดี

ดังนั้น การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง จึงเป็นวิธีการเพื่อให้มีการปฎิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ในกรณีที่ผู้แพ้คดีตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ทั้งนี้เพื่อให้คำพิพากษาได้รับสิทธิตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งการบังคับคดีจะกระทำเองนอกเหนือจากนี้ไม่ได้ แต่จะต้องกระทำโดยให้เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายกำหนดอำนาจและหน้าที่ไว้ ซึ่งก็คือ “เจ้าพนักงานบังคับคดี” โดยปัจจุบันก็คือเจ้าพนักงานที่สังกัดกรมบังคับคดีนั้นเอง หากฝ่าฝืน ศาลอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีที่ได้ดำเนินการไปแล้วได้

หมายบังคับคดี

คือคำสั่งของศาลที่ตั้งเจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีหรือพนักงานอื่นเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล หมายบังคับคดีจะแตกต่างจากคำบังคับ คำบังคับเป็นคำสั่งศาลถึงตัวลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ปฏิบัติตาม ส่วนหมายบังคับคดีเป็นคำสั่งของศาลที่มีไปถึงเจ้าพนักงานบังคับคดี ให้ดำเนินการบังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา คำบังคับและหมายบังคับเป็นขั้นตอนการบังคับคดีที่กฎหมายได้กำหนดไว้เป็นลำดับ กล่าวคือเมื่อศาลพิพากษาแล้วก็ต้องออกคำบังคับกำหนดระยะเวลาให้ลูกหนี้ ปฏิบัติตามคำพิพากษา ศาลจึงจะออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไป เว้นแต่เป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถขอศาลออกหมายบังคับคดีได้ โดยไม่จำเป็นต้องขอออกคำบังคับคดีก่อน

การออกหมายบังคับคดี

เนื่องจากจากหนี้ตามคำพิพากษาเป็นหนี้ที่ศาลรับรองและรับจะบังคับให้ แต่การดำเนินการบังคับคดีเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น การประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275 จึงบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้ที่ต้องขอให้ออกหมายบังคับคดี ซึ่งหากเจ้าหนี้ไม่ขอศาลไม่ขอ ศาลก็จะไม่ออกหมายบังคับคดีให้ระหว่างศาลยังมิได้กำหนดวิธีการบังคับคดี ถ้ามีเหตุจำเป็น เจ้าหนี้จะยื่นคำขอคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าหนี้ และลูกหนี้อาจยื่นคำขอต่อศาลให้ยกเลิกได้เช่นกัน

เจ้าพนักงานบังคับคดี

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(14) “เจ้าพนักงานบังคับคดี” หมายถึง เจ้าพนักงานในสังกัดกรมบังคับคดีหรือพนีกงานอื่นผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้อยู่ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่งประมวลกฎหมายนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้หมายความรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ปฏิบัติการแทน

ในการบังคับคดีที่ต้องมีการดำเนินโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลซึ่งออกหมายบังคับคดี ต้องตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี หรือเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีหรือสาขา แล้วแต่เขตอำนาจของศาลที่ออกหมายบังคับคดี เพื่อจัดการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาหรือทำการอื่นใดโดยอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย

Email
Phone
Line
Line
Phone
Email